เมนู

72. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ


ปฏิจจวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[460] 1. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานธรรม และอุปาทานิยธรรม
อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานธรรม และอุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย

คือ กามุปาทาน อาศัยทิฏฐุปาทาน, ทิฏฐุปาทาน อาศัยกามุปาทาน.
พึงกระทำจักรนัย.
2. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม
อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น เพราะ
เหตุปัจจัย

คือ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย อาศัยอุปาทานธรรม
ทั้งหลาย.
3. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และ
ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็น
ทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ กามุปาทาน, สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
อาศัยทิฏฐุปาทาน.
พึงกระทำจักรนัย.

4. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม
อาศัยธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะ
เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทานิยะ
แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ฯลฯ ขันธ์ 2 ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ตลอดถึงอัชฌัต-
ติกมหาภูตรูป.
5. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม อาศัย
ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุ-
ปัจจัย

คือ อุปาทานธรรมทั้งหลาย อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทานิยะ แต่
ไม่ใช่อุปาทานธรรม.
6. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และ
ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็น
อุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 อุปาทานธรรมทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย
ขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
7. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม อาศัย
ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปา-
ทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ กามุปาทาน อาศัยทิฏฐุปาทาน และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.
พึงกระทำจักรนัย.

8. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม
อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็น
อุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทานิยะ
แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม และอุปาทานธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ขันธ์ 2.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอุปาทานธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย.
9. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และ
ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็น
ทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่
ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3, กามุปาทาน และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็น
อุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม และทิฏฐุปาทาน ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
พึงกระทำจักรนัย.
โดยนัยนี้ อุปาทานทุกะฉันใด ปฏิจจวาระก็ดี สหชาตวาระก็ดี
ปัจจยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี
พึงกระทำฉันนั้น ไม่มีแตกต่างกัน, หลักจำแนกวาระต่างกัน.

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[461] 1. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัย
แก่อุปาทานธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
2. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ด้วยอำนาจ
ของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
เหมือนกับ อุปาทานทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน มี 9 วาระ.

2. อารัมมณปัจจัย


[462] 1. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย